CONNER Ratchathewi การออกแบบที่เข้าใจผู้อยู่อาศัย และดีไซน์ที่ไม่มีวันล้าสมัย
ทำความรู้จักกับผู้สร้างมืออาชีพ
ถ้าพูดถึงบริษัทที่ออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของเมืองไทย คงหนีไม่พ้น “dwp” ที่เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาในการอยู่อาศัย ทั้งสเกลภายในและภายนอกอาคาร โดย dwp ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี ค.ศ.1994 ซึ่งให้บริการออกแบบงานสถาปัตยกรรม การตกแต่งภายใน การออกแบบกราฟฟิก รวมถึงการออกแบบและก่อสร้างอื่นๆ อีกมากมาย จนได้รับรางวัลการันตีจากหลายสถาบันในระดับนานาชาติ ซึ่งทางบริษัทมีทีมงานสถาปนิกและนักออกแบบกว่า 400 คน ที่คอยให้บริการลูกค้าและมีสำนักงานที่ตั้งอยู่หลายแห่งรอบโลก ทั้งในตะวันออกกลาง เอเชีย อินเดีย จีนและออสเตรเลีย
ซึ่งในเร็วๆนี้ dwp กำลังวางแผนที่จะเปิดบริษัทในสหรัฐอเมริกา และยุโรป ในอีก 2 ปีข้างหน้าซึ่งปัจจุบันประสบการณ์ในการออกแบบโครงการไลฟสไตล์ต่างๆ ให้กับ ลูกค้าในหลากหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรมขนาดใหญ่ สถานพยาบาล โรงแรม และโครงการอื่นๆ อีกมากมายทั่วโลก
ผ่านประสบการณ์การทำงานในระดับมืออาชีพอย่าง คุณ Scott Whittaker ผู้บริหารตำแหน่ง Group Creative Director ของ dwp ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ผนวกกับการใช้ประโยชน์ทางนวัตกรรมได้อย่างดีเลิศ ผู้มีประวัติการทำงานในโซนเอเชียมากนานกว่า 24 ปีซึ่งสถานที่ที่ทาง DWP ออกแบบล้วนแต่เป็นสโครงการที่มีชื่อเสียงและได้รับความยกย่องในเรื่องของดีไซน์ รวมถึงโครงการ Conner Ratchathewi ที่เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของการออกแบบภายในจาก dwp
Concept Design ดีที่ใส่ใจในทุกรายละเอียด
จุดเริ่มต้นของการออกแบบภายในโครงการ Conner Ratchathewi ผ่านแนวคิดของ dwp คือการผสมผสานพื้นที่ภายใน และพื้นที่ภายนอกของอาคาร ให้เกิดความต่อเนื่องซึ่งทำให้ไม่รู้สึกถึงการโดนแบ่งแยกเมื่อใช้งานจริง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่อาศัย รู้สึกได้ถึงกิจกรรม ส่วนรวมในพื้นที่ส่วนกลาง โดยไม่ส่งผกระทบต่อความเป็นส่วนตัว ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการอยู่อาศัยเพื่อความเป็นส่วนตัวหรือ การอยู่อาศัยแบบเชื่อมโยงในเรื่องของสิ่งแวดล้อม รวมถึงการคำนึงในเรื่องของสุขภาพ
พูดง่ายๆ ว่าประเด็นหลักๆ ของการออกแบบภายในโครงการ ซึ่งสะท้อนผ่านดีไซน์ของผลงานที่เราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนคือ ความโมเดิร์น และการออกแบบที่ไม่มีวันล้าสมัย แต่ต้องใกล้ชิดธรรมชาติให้มากที่สุด โดยที่ผู้อยู่อาศัยยังรับรู้ได้ถึง “ความเป็นส่วนตัว” แต่ในขณะที่ก็ยังสามารถสัมผัสได้ถึงคำว่า “คอมมิวนิตี้”